ผลงานของเรา
พิธีบายศรีสู่ขวัญ บางครั้งก็เรียกว่า พิธีบายศรี, พิธีสู่ขวัญ, พิธีทำขวัญ, พิธีรับขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทย และคนลาว ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไป ให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท ประเพณีบายศรีสู่ขวัญใช้เครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า บายศรี ทำด้วยใบตอง
คล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญ (ไข่ต้ม) เสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายประเภท เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ (ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ) มีการพันสายสิญจน์ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผู้รับขวัญ ผู้นำทำพิธีเรียกว่า หมอขวัญ
ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า "ใบสี", "ใบสรี" หรือ "ใบสีนมแมว" และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า
ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ
บายศรีหลวง
บายศรีนมแมว
บายศรีปากชาม
บายศรีกล้วย
ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า "พาบายศรี", "พาขวัญ" หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า "ขันบายศรี" ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ
พาขวัญ
พาบายศรี
หมากเบ็ง
ในส่วนภาคอีสานที่มีเชื้อสายของเขมรจะมีการเรียกบายศรีว่า "บายแสร็ย" ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
บายแสร็ยเดิม (บายศรีต้น)
บายแสร็ยเถียะ (บายศรีถาด)
บายแสร็ตจาน (บายศรีปากชาม)
รับจัดพิธีสงฆ์
เช่าอุปกรณ์พิธีสงฆ์
เช่าอาสนะ
รับทำพานบายศรี
รับจัดอาหารขันโตกถวายพระ
รับจัดบุฟเฟ่ต์นอกสถานที่